ไม่มีหมวดหมู่

4 บทเรียนสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล

เมื่อมองกลับไปที่แคมเปญวันอินเทอร์เน็ตปลอดภัยในปี 2018 เพื่อทบทวนแนวคิดสำคัญและนำมาปฏิบัติ โดยประเด็นสำคัญของปี 2018 นั้นคือการแบ่งปันความเคารพผ่านความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่รับผิดชอบ เรามาเรียนรู้ 4 บทเรียนความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่จะส่งผลต่อโรงเรียนของคุณกันเถอะ

หลายคนมักรู้สึกว่า โลกออนไลน์เป็นพื้นที่ที่พวกเขาสามารถพูดและทำอะไรก็ได้ โดยซ่อนตัวอยู่เบื้องหลัง username บนโลกออนไลน์ สิ่งนี้ทำให้พวกเขากล้าที่จะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างจากตัวตนใน “โลกแห่งความจริง” ปัญหาคือ เส้นแบ่งระหว่างโลกออนไลน์กับ “โลกแห่งความจริง” นั้นเลือนรางมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เราพูดและทำออนไลน์ ล้วนส่งผลกระทบต่อผู้คนในโลกแห่งความจริงด้วยเช่นกัน

นี่คือเหตุผลที่การสอนเด็ก ๆ เกี่ยวกับวิธีการโต้ตอบออนไลน์และรับผิดชอบต่อการกระทำเหล่านั้นเป็นสิ่งสำคัญ มีบทเรียนมากมายที่สามารถสอนได้ทั้งที่บ้านและในห้องเรียน เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี โดยบทความนี้จะหยิบยก 4 บทเรียนมาพูดถึง

1. ยอมรับความแตกต่าง

บทเรียนนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่โลกออนไลน์และการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีเท่านั้น แต่ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นในโลกปัจจุบันที่เราสามารถเข้าถึงผู้คนจากหลากหลายประเทศ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ เรายังสามารถติดตามข่าวสารเรียลไทม์ได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้เรารู้สึกอยากเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น แต่การกลั่นแกล้งไม่ว่ารูปแบบไหนก็ไม่ใช่สิ่งที่ยอมรับได้ นักเรียนควรเรียนรู้ว่าการกลั่นแกล้งออนไลน์มีลักษณะอย่างไร และจะหลีกเลี่ยงการเป็นส่วนหนึ่งของมันได้อย่างไร

2. ตรวจสอบข้อมูลก่อนเชื่อ

ข่าวปลอม (Fake news) คือปัญหาที่น่ากังวล การเผยแพร่ข้อมูลในปัจจุบันสะดวกง่ายดายกว่าที่เคย แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ อันตรายจากการแชร์ข้อมูลผิดๆ คำโกหก และข้อเท็จจริงที่ไม่ได้รับการยืนยัน การสอนเด็กๆ ให้รู้จักตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล ไม่ใช่แค่ประโยชน์สำหรับการทำการบ้านเท่านั้น แต่ยังเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับชีวิตประจำวันอีกด้วย Google Fact Check เป็นเครื่องมือตรวจสอบข้อมูลที่ดี นักเรียนสามารถใช้ยืนยันข้อมูลที่อ่านหรือเห็นออนไลน์ได้

3. ระวังอันตรายจากคนแปลกหน้า!

โลกออนไลน์ไร้พรมแดนมีภัยซ่อนตัวไม่ต่างจากโลกแห่งความจริง การไม่รับขนมจากคนแปลกหน้าในยุคดิจิทัล คือการไม่รับคำขอเป็นเพื่อนจากคนที่เราไม่รู้จัก โซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และเด็กๆ โดยเฉพาะวัยรุ่นแทบจะใช้ชีวิตโดยปราศจากมันไม่ได้ อย่างไรก็ตาม การปล่อยให้พวกเขาเล่น Facebook หรือ Snapchat โดยไม่สอนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นนั้นเสี่ยงเป็นอย่างมาก ควรสอนพวกเขาว่าข้อมูลอะไรที่แชร์ได้บ้าง และเทคนิคการป้องกันตัวเองต่างๆ เช่น การปิดการใช้งานแชร์ตำแหน่งที่ตั้งในโพสต์โซเชียลมีเดีย เป็นต้น

4. ใช้เทคโนโลยีอย่างมั่นใจ

หลังจากที่พูดถึงอันตรายต่างๆไปแล้ว สิ่งสำคัญคือการสอนนักเรียนให้ใช้เทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตอย่างมั่นใจ การตีตราสมาร์ทโฟนและโซเชียลมีเดียว่าไม่ดีทั้งหมดไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง เพราะสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตยุคใหม่ไปแล้ว เราควรออกแบบบทเรียนที่เน้นการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างรับผิดชอบ สอนให้พวกเขาตรวจสอบข้อมูล ยืนยันแหล่งที่มา และหลีกเลี่ยงการแชร์ข้อมูลส่วนตัวทางออนไลน์

ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องยาก แต่ข่าวดีคือเรามีวิธีสร้างทั้งอิสระในการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ๆ ได้ด้วย Mobile Guardian ที่ออกแบบมาสำหรับครูและผู้ปกครองโดยเฉพาะ เพื่อให้มั่นใจว่าการเรียนรู้ดิจิทัลของเด็กจะปลอดภัย แอปพลิเคชันนี้สามารถช่วยจัดการเวลาในการใช้หน้าจอ, จำกัดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่ไม่เหมาะสม, และบล็อกเว็บไซต์บางเว็บไซต์ได้ เหล่านี้ช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ความสำคัญในการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี โดยไม่ถูกรบกวนจากภัยคุกคามภายนอก

ด้วยความปรารถนาดี

Share

สร้างความเป็นเลิศแก่นักเรียนด้วยการจัดการอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ

Request a Demo