ในปัจจุบันนักเรียนใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อติดต่อสื่อสาร ทำงานร่วมกัน และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ มากกว่าที่เคย
สิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ที่ครูหลายคนให้ความสำคัญในช่วงเปิดเทอม คือการหาวิธีที่จะทำให้เด็กนักเรียนปลอดภัยและมีสมาธิขณะเรียนออนไลน์
ในบทความที่เกี่ยวกับการส่งเสริมพลเมืองดิจิทัลให้เข็มแข็งนี้ เราจะกล่าวถึง:
- การส่งเสริมการเป็นพลเมืองดิจิทัลในห้องเรียน
- นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศคืออะไร และสร้างนโยบายนี้อย่างไร
- การประยุกต์ใช้นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จในโรงเรียน
ดิฉันจะแชร์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบความต้องการอุปกรณ์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ว่าวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศคืออะไร และการมีส่วนร่วมของนักเรียนที่ประสบความสำเร็จ ส่งผลต่อการใช้อุปกรณ์ในโรงเรียนอย่างไร
ก่อนอื่นเลย เราลองมาสำรวจห้องเรียนดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (K-12) กันก่อนนะคะ!
เทรนด์ดิจิทัลที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง
การใช้การเรียนรู้ดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้นของโรงเรียนระดับประถม-มัธยมศึกษา (K-12) กลายเป็นความท้าทายสำหรับครูผู้สอนในการทำให้นักเรียนโฟกัสกับการเรียน และไม่เข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในระหว่างเรียน
จากการศึกษาในปี 2020 พบว่าความต้องการอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับนักเรียนระดับประถม-มัธยมศึกษา (K-12) พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนอุปกรณ์ที่จัดส่งไปยังโรงเรียนระดับ K-12 ทั่วโลกในปี 2019 อยู่ที่ประมาณ 30 ล้านเครื่อง และคาดการณ์ว่าจะมีอุปกรณ์ จำนวนกว่า 36 ล้านเครื่องถูกส่งมอบให้โรงเรียนทั่วโลกในปี 2020
แต่ปรากฏว่า ณ สิ้นปี 2020 มีการส่งแท็บเล็ตและแล็ปท็อปไปยังโรงเรียนระดับ K-12 ทั่วโลกถึงกว่า 51 ล้านเครื่อง ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการคาดการณ์เดิมที่ 36 ล้านเครื่อง เป็นอย่างมาก
เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ ครูจำเป็นต้องมีการพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงโลกออนไลน์อย่างเหมาะสม และพัฒนาตัวเองให้เป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรับผิดชอบ ซึ่งสามารถทำได้โดยการสอนให้นักเรียนรู้จักรับผิดชอบต่อการมีปฏิสัมพันธ์บนโลกดิจิทัล
คุณอาจจะถามนักเรียนว่า…
คำตอบง่ายๆ สั้นๆ สำหรับคำถามนั้นก็คือ การเป็นพลเมืองดิจิทัล!
การเป็นพลเมืองดิจิทัลคืออะไร?
พลเมืองดิจิทัล มีความหมายว่าอย่างไร?
เรามาดูที่นิยามแรกกันเลย
“พลเมืองดิจิทัล” สามารถนิยามได้ว่าคือ ความสามารถในการมีส่วนร่วมในโลกดิจิทัลอย่างปลอดภัยและชาญฉลาด โดยใช้ทักษะด้านการสื่อสารและการสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของผู้อื่น ผ่านการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ
พูดแบบง่ายๆ ก็คือ การเป็นพลเมืองดิจิทัล คือ การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ และเป็นสมาชิกสังคมที่กระตือรือล้นและเคารพผู้อื่น ทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์
ทำไมการเป็นพลเมืองดิจิทัลจึงสำคัญ?
เด็กจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ใช้เทคโนโลยีทั้งเพื่อความบันเทิงและการเรียนรู้ จากการศึกษาในปี 2021 คาดการณ์ว่าเด็กวัยรุ่นใช้เวลากับหน้าจอมากถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน
ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องเข้าใจวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้:
- ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของตนเองบนโลกออนไลน์
- แบ่งเวลาและควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม
- สื่อสารกับผู้อื่นอย่างสุภาพและมีมารยาท
- ไม่เพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
- จัดการร่องรอยดิจิทัล(Digital footprint) ของตนเองอย่างรอบคอบ
- เคารพผลงานและทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ นักเรียนต้องรู้วิธีตัดสินใจอย่างชาญฉลาดบนโลกออนไลน์ และหลีกเลี่ยงกับดักต่างๆ เช่น การกลั่นแกล้งออนไลน์, การใช้โซเชียลมีเดียอย่างไม่รับผิดชอบ, มิจฉาชีพ, และไวรัสต่างๆ
วิธีเสริมทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลในห้องเรียน
การสอนการเป็นพลเมืองดิจิทัล เป็นก้าวสำคัญในการให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียนในห้องเรียนดิจิทัล
วิธีการที่ดีในการส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักถึงอันตรายบนโลกออนไลน์ คือการสร้าง “นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (Acceptable Use Policy)” ร่วมกับนักเรียนในชั้นเรียน
มาดูว่านนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (Acceptable Use Policy) คืออะไร และจะช่วยส่งเสริมการเป็นพลเมืองดิจิทัลในห้องเรียนดิจิทัลได้อย่างไร
นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ
อันดับแรกนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ คืออะไร?
คำนิยาม
นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) หมายถึง เอกสารที่ระบุข้อห้ามและแนวทางปฏิบัติที่ผู้ใช้งานจะต้องยอมรับ เพื่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
กล่าวอย่างง่าย นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) คือกรอบแนวทางที่กำหนดว่าพฤติกรรมใดที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมบนโลกออนไลน์
การสร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) ร่วมกับนักเรียน ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสให้พวกเขาได้ร่วมมือกัน แต่ยังช่วยให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะสำคัญหลายประการไปพร้อมกัน ได้แก่ การคิดวิเคราะห์, การสร้างสัมพันธ์, การสื่อสาร, การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีเป็นต้น
ความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมในการจัดทำ นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (AUP) ทำให้นักเรียนมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และยิ่งมีความตระหนักถึงกฎมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสที่พวกเขาจะดูแลตัวเองได้ดีขึ้นเท่านั้น!
ต่อไปนี้คือวิธีการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ:
- rแบ่งนักเรียนในห้องเรียนของคุณออกเป็นกลุ่มเท่าๆ กัน กลุ่มละ 3 หรือ 4 คน
- มอบหมายให้แต่ละกลุ่มคิด นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) สำหรับใช้ในห้องเรียน 3 ข้อ
- เมื่อทุกกลุ่มคิดเสร็จแล้ว ให้เลือกตัวแทนกลุ่มละ 1 คน มานำเสนอนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) ที่กลุ่มคิดขึ้นมาให้เพื่อนๆ ในชั้นเรียนฟัง
- รวบรวมนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) ทั้งหมดจากแต่ละกลุ่ม โดยตัดกฎซ้ำออก แล้วให้ทุกคนในชั้นเรียนโหวตเพื่อเป็นนโยบายของห้องเรียน
- เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทุกกลุ่มสร้างสรรค์ภาพกราฟิกเพื่อแสดงภาพ “นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ” (AUP)
- อาจใช้ วิดีโอ รูปภาพ หรือสื่ออื่นๆ มาใช้สื่อสารแนวคิดเรื่องความมีน้ำใจ ความเคารพซึ่งกัน และการแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสม
- การมองเห็นช่วยเสริมการจดจำ ดังนั้น ควรพิมพ์เอกสารรายการนโยบาย ออกมาติดไว้ในห้องเรียนเพื่อให้นักเรียนเห็นอยู่เสมอ
- แนบกราฟิกของ นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (AUP) ไปยังแพลตฟอร์มการเรียนรู้ต่างๆ เช่น Google Classroom, Teams, Seesaw, Flipgrid หรือแพลตฟอร์มอื่นๆที่นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
- ทบทวน นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (AUP) เป็นประจำ เพื่อช่วยให้นักเรียนรับผิดชอบต่อการกระทำของตนบนโลกออนไลน์
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการพัฒนา นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) ที่มีประสิทธิภาพ โปรดเยี่ยมชมบล็อกของเราได้ที่ how to create an Acceptable Use Policy.
บางคนอาจสงสัยว่ากระบวนการนี้ใช้ได้ผลจริงหรือไม่? คำตอบดูได้จากพฤติกรรมของนักเรียนที่ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้นดังตัวอย่างนี้
ประโยชน์ของการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (AUP)
ตัวอย่างกรณีศึกษา: โรงเรียนรัฐบาลในเมืองบอสตัน (BPS) สร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) สำหรับนักเรียน 57,000 คนทั่วทั้ง 128 โรงเรียน โดยที่ นักเรียนชั้นมัธยมปลาย จะช่วยเหลือให้นักเรียนในชั้นอื่นๆเข้าใจกฎเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยนักเรียนมัธยมปลายของ BPS ได้สร้าง พอดแคสต์ ตามระดับชั้นเรียน เพื่อถ่ายทอดสาระสำคัญของนโยบายไปยังนักเรียนชั้นอื่น ๆ
ต่อไปนี้คือบางส่วนของความคิดเห็นที่ได้รับ:
- เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติตาม นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ ได้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือพวกเขาต้องเข้าใจเนื้อหาของนโยบาย การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างนโยบาย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในกระบวนการนี้
- การมีส่วนร่วมของนักเรียนชั้นมัธยมปลายในกระบวนการปรับปรุงนโยบาย สามารถส่งผลให้นักเรียนยอมรับและปฏิบัติตามนโยบายมากยิ่งขึ้น
- นักเรียนสามารถใช้ทักษะด้านมัลติมีเดีย เพื่อช่วยชั้นเรียน โรงเรียน หรือแม้แต่เขตการศึกษา ในการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- พี่มัธยมได้ช่วยสอนการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยให้แก่รุ่นน้อง
- การมีกลุ่มนักเรียนรุ่นพี่ที่ผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยไซเบอร์ มาเป็นพี่เลี้ยงช่วยสอนรุ่นน้อง ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่นโยบายให้กับนักเรียนทั้งโรงเรียน
การเสริมสร้างพลังแก่เยาวชน
ในยุคสมัยนี้ พฤติกรรมการใช้งานและการมีปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีของคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือ การรับฟังเสียงสะท้อนจากทั้งสองฝ่าย
สิ่งสำคัญคือ นักเรียนสามารถแสดงออกถึงความคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี ผ่านผลงานการสร้างสรรค์กราฟิกของตนเอง เพื่อแสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์อย่างเหมาะสม และสามารถเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ต่างๆ เช่น Google Classroom, Teams, Seesaw หรือ Flipgrid ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
อีกหนึ่งเหตุผลที่สำคัญของการมีส่วนร่วมของนักเรียนในกระบวนการสร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ คือช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ของตนเอง รวมถึงการสำรวจความคิดของตน และครูผู้สอนจะทราบว่านักเรียนคนใดที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือมีพฤติกรรมที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของนโยบายที่กำหนด
ประการสุดท้าย การให้นักเรียนมีส่วนร่วมสร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเหตุผลที่มาที่ไป นำไปสู่การมีส่วนร่วมมากขึ้น และเกิดการยอมรับในนโยบาย อีกทั้งยังพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ที่เคารพซึ่งกันและกัน และการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
หากคุณเคยมีประสบการณ์ที่คล้ายกัน เกี่ยบกับการส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีและปลอดภัยบนโลกออนไลน์ สามารถร่วมแชร์ประสบการณ์กับเราได้ที่ marketing@mobileguardian.com
ด้วยความปรารถนาดี