เสริมพลังให้นักเรียนของคุณด้วยการเป็นพลเมืองดิจิทัล

ในปัจจุบันนักเรียนใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อติดต่อสื่อสาร ทำงานร่วมกัน และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ มากกว่าที่เคย

สิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ที่ครูหลายคนให้ความสำคัญในช่วงเปิดเทอม คือการหาวิธีที่จะทำให้เด็กนักเรียนปลอดภัยและมีสมาธิขณะเรียนออนไลน์

ในบทความที่เกี่ยวกับการส่งเสริมพลเมืองดิจิทัลให้เข็มแข็งนี้ เราจะกล่าวถึง:

  • การส่งเสริมการเป็นพลเมืองดิจิทัลในห้องเรียน
  • นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศคืออะไร และสร้างนโยบายนี้อย่างไร
  • การประยุกต์ใช้นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จในโรงเรียน

ดิฉันจะแชร์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบความต้องการอุปกรณ์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ว่าวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศคืออะไร และการมีส่วนร่วมของนักเรียนที่ประสบความสำเร็จ ส่งผลต่อการใช้อุปกรณ์ในโรงเรียนอย่างไร

ก่อนอื่นเลย เราลองมาสำรวจห้องเรียนดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (K-12) กันก่อนนะคะ!

เทรนด์ดิจิทัลที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง

การใช้การเรียนรู้ดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้นของโรงเรียนระดับประถม-มัธยมศึกษา (K-12) กลายเป็นความท้าทายสำหรับครูผู้สอนในการทำให้นักเรียนโฟกัสกับการเรียน และไม่เข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในระหว่างเรียน

จากการศึกษาในปี 2020 พบว่าความต้องการอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับนักเรียนระดับประถม-มัธยมศึกษา (K-12) พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนอุปกรณ์ที่จัดส่งไปยังโรงเรียนระดับ K-12 ทั่วโลกในปี 2019 อยู่ที่ประมาณ 30 ล้านเครื่อง และคาดการณ์ว่าจะมีอุปกรณ์ จำนวนกว่า 36 ล้านเครื่องถูกส่งมอบให้โรงเรียนทั่วโลกในปี 2020

แต่ปรากฏว่า ณ สิ้นปี 2020 มีการส่งแท็บเล็ตและแล็ปท็อปไปยังโรงเรียนระดับ K-12 ทั่วโลกถึงกว่า 51 ล้านเครื่อง ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการคาดการณ์เดิมที่ 36 ล้านเครื่อง เป็นอย่างมาก

เพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ ครูจำเป็นต้องมีการพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงโลกออนไลน์อย่างเหมาะสม และพัฒนาตัวเองให้เป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรับผิดชอบ ซึ่งสามารถทำได้โดยการสอนให้นักเรียนรู้จักรับผิดชอบต่อการมีปฏิสัมพันธ์บนโลกดิจิทัล

คุณอาจจะถามนักเรียนว่า…

คำตอบง่ายๆ สั้นๆ สำหรับคำถามนั้นก็คือ การเป็นพลเมืองดิจิทัล!

การเป็นพลเมืองดิจิทัลคืออะไร?

พลเมืองดิจิทัล มีความหมายว่าอย่างไร?

เรามาดูที่นิยามแรกกันเลย

“พลเมืองดิจิทัล” สามารถนิยามได้ว่าคือ ความสามารถในการมีส่วนร่วมในโลกดิจิทัลอย่างปลอดภัยและชาญฉลาด โดยใช้ทักษะด้านการสื่อสารและการสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของผู้อื่น ผ่านการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ

พูดแบบง่ายๆ ก็คือ การเป็นพลเมืองดิจิทัล คือ การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบ และเป็นสมาชิกสังคมที่กระตือรือล้นและเคารพผู้อื่น ทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์

ทำไมการเป็นพลเมืองดิจิทัลจึงสำคัญ?

เด็กจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ใช้เทคโนโลยีทั้งเพื่อความบันเทิงและการเรียนรู้ จากการศึกษาในปี 2021 คาดการณ์ว่าเด็กวัยรุ่นใช้เวลากับหน้าจอมากถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน

ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องเข้าใจวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้:

  • ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของตนเองบนโลกออนไลน์
  • แบ่งเวลาและควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม
  • สื่อสารกับผู้อื่นอย่างสุภาพและมีมารยาท
  • ไม่เพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
  • จัดการร่องรอยดิจิทัล(Digital footprint) ของตนเองอย่างรอบคอบ
  • เคารพผลงานและทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ นักเรียนต้องรู้วิธีตัดสินใจอย่างชาญฉลาดบนโลกออนไลน์ และหลีกเลี่ยงกับดักต่างๆ เช่น การกลั่นแกล้งออนไลน์, การใช้โซเชียลมีเดียอย่างไม่รับผิดชอบ, มิจฉาชีพ, และไวรัสต่างๆ

วิธีเสริมทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลในห้องเรียน
การสอนการเป็นพลเมืองดิจิทัล เป็นก้าวสำคัญในการให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียนในห้องเรียนดิจิทัล

วิธีการที่ดีในการส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักถึงอันตรายบนโลกออนไลน์ คือการสร้าง “นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (Acceptable Use Policy)” ร่วมกับนักเรียนในชั้นเรียน

มาดูว่านนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (Acceptable Use Policy) คืออะไร และจะช่วยส่งเสริมการเป็นพลเมืองดิจิทัลในห้องเรียนดิจิทัลได้อย่างไร

นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ

อันดับแรกนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ คืออะไร?

คำนิยาม

นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) หมายถึง เอกสารที่ระบุข้อห้ามและแนวทางปฏิบัติที่ผู้ใช้งานจะต้องยอมรับ เพื่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

กล่าวอย่างง่าย นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) คือกรอบแนวทางที่กำหนดว่าพฤติกรรมใดที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมบนโลกออนไลน์

การสร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) ร่วมกับนักเรียน ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสให้พวกเขาได้ร่วมมือกัน แต่ยังช่วยให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะสำคัญหลายประการไปพร้อมกัน ได้แก่ การคิดวิเคราะห์, การสร้างสัมพันธ์, การสื่อสาร, การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีเป็นต้น

ความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมในการจัดทำ นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (AUP) ทำให้นักเรียนมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และยิ่งมีความตระหนักถึงกฎมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสที่พวกเขาจะดูแลตัวเองได้ดีขึ้นเท่านั้น!

ต่อไปนี้คือวิธีการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ:

  1. rแบ่งนักเรียนในห้องเรียนของคุณออกเป็นกลุ่มเท่าๆ กัน กลุ่มละ 3 หรือ 4 คน
  2. มอบหมายให้แต่ละกลุ่มคิด นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) สำหรับใช้ในห้องเรียน 3 ข้อ
  3. เมื่อทุกกลุ่มคิดเสร็จแล้ว ให้เลือกตัวแทนกลุ่มละ 1 คน มานำเสนอนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) ที่กลุ่มคิดขึ้นมาให้เพื่อนๆ ในชั้นเรียนฟัง
  4. รวบรวมนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) ทั้งหมดจากแต่ละกลุ่ม โดยตัดกฎซ้ำออก แล้วให้ทุกคนในชั้นเรียนโหวตเพื่อเป็นนโยบายของห้องเรียน
  5. เมื่อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทุกกลุ่มสร้างสรรค์ภาพกราฟิกเพื่อแสดงภาพ “นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ” (AUP)
  6. อาจใช้ วิดีโอ รูปภาพ หรือสื่ออื่นๆ มาใช้สื่อสารแนวคิดเรื่องความมีน้ำใจ ความเคารพซึ่งกัน และการแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสม
  7. การมองเห็นช่วยเสริมการจดจำ ดังนั้น ควรพิมพ์เอกสารรายการนโยบาย ออกมาติดไว้ในห้องเรียนเพื่อให้นักเรียนเห็นอยู่เสมอ
  8. แนบกราฟิกของ นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (AUP) ไปยังแพลตฟอร์มการเรียนรู้ต่างๆ เช่น Google Classroom, Teams, Seesaw, Flipgrid หรือแพลตฟอร์มอื่นๆที่นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
  9. ทบทวน นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (AUP) เป็นประจำ เพื่อช่วยให้นักเรียนรับผิดชอบต่อการกระทำของตนบนโลกออนไลน์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการพัฒนา นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) ที่มีประสิทธิภาพ โปรดเยี่ยมชมบล็อกของเราได้ที่ how to create an Acceptable Use Policy.

บางคนอาจสงสัยว่ากระบวนการนี้ใช้ได้ผลจริงหรือไม่? คำตอบดูได้จากพฤติกรรมของนักเรียนที่ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้นดังตัวอย่างนี้

ประโยชน์ของการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ (AUP)

ตัวอย่างกรณีศึกษา: โรงเรียนรัฐบาลในเมืองบอสตัน (BPS) สร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ(AUP) สำหรับนักเรียน 57,000 คนทั่วทั้ง 128 โรงเรียน โดยที่ นักเรียนชั้นมัธยมปลาย จะช่วยเหลือให้นักเรียนในชั้นอื่นๆเข้าใจกฎเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยนักเรียนมัธยมปลายของ BPS ได้สร้าง พอดแคสต์ ตามระดับชั้นเรียน เพื่อถ่ายทอดสาระสำคัญของนโยบายไปยังนักเรียนชั้นอื่น ๆ

ต่อไปนี้คือบางส่วนของความคิดเห็นที่ได้รับ:

  • เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติตาม นโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ ได้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือพวกเขาต้องเข้าใจเนื้อหาของนโยบาย การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างนโยบาย ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในกระบวนการนี้
  • การมีส่วนร่วมของนักเรียนชั้นมัธยมปลายในกระบวนการปรับปรุงนโยบาย สามารถส่งผลให้นักเรียนยอมรับและปฏิบัติตามนโยบายมากยิ่งขึ้น
  • นักเรียนสามารถใช้ทักษะด้านมัลติมีเดีย เพื่อช่วยชั้นเรียน โรงเรียน หรือแม้แต่เขตการศึกษา ในการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • พี่มัธยมได้ช่วยสอนการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยให้แก่รุ่นน้อง
  • การมีกลุ่มนักเรียนรุ่นพี่ที่ผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยไซเบอร์ มาเป็นพี่เลี้ยงช่วยสอนรุ่นน้อง ถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่นโยบายให้กับนักเรียนทั้งโรงเรียน

การเสริมสร้างพลังแก่เยาวชน

ในยุคสมัยนี้ พฤติกรรมการใช้งานและการมีปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีของคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือ การรับฟังเสียงสะท้อนจากทั้งสองฝ่าย

สิ่งสำคัญคือ นักเรียนสามารถแสดงออกถึงความคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี ผ่านผลงานการสร้างสรรค์กราฟิกของตนเอง เพื่อแสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์อย่างเหมาะสม และสามารถเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ต่างๆ เช่น Google Classroom, Teams, Seesaw หรือ Flipgrid ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

อีกหนึ่งเหตุผลที่สำคัญของการมีส่วนร่วมของนักเรียนในกระบวนการสร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ คือช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ของตนเอง รวมถึงการสำรวจความคิดของตน และครูผู้สอนจะทราบว่านักเรียนคนใดที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือมีพฤติกรรมที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของนโยบายที่กำหนด

ประการสุดท้าย การให้นักเรียนมีส่วนร่วมสร้างนโยบายความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเหตุผลที่มาที่ไป นำไปสู่การมีส่วนร่วมมากขึ้น และเกิดการยอมรับในนโยบาย อีกทั้งยังพัฒนาบรรยากาศการเรียนรู้ที่เคารพซึ่งกันและกัน และการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

หากคุณเคยมีประสบการณ์ที่คล้ายกัน เกี่ยบกับการส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีและปลอดภัยบนโลกออนไลน์ สามารถร่วมแชร์ประสบการณ์กับเราได้ที่ marketing@mobileguardian.com

ด้วยความปรารถนาดี

Share

สร้างความเป็นเลิศแก่นักเรียนด้วยการจัดการอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ

Request a Demo