สุขภาวะดิจิทัล(Digital Wellbeing): ปรับสมดุลเวลาการใช้หน้าจอ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นในปี 2024

ในวันส่งเสริมอินเทอร์เน็ตปลอดภัย(Safer Internet Day)ประจำปีนั้น การปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ ถือเป็นหัวใจสำคัญของงาน โดยกิจกรรมระดับนานาชาตินี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ออนไลน์ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีทุกเพศทุกวัย

วันอินเทอร์เน็ตปลอดภัย เป็นวันสำหรับเตือนใจถึง ความท้าทาย และโอกาส ที่มาพร้อมกับโลกที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น

หน้าจอกำลังกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การเรียนรู้ดิจิตอล โซเชียลมีเดียไปจนถึงการสร้างเครือข่าย หน้าจอถูกใช้ในหลายๆกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การสอน หรือความบันเทิงต่างๆเป็นต้น แม้ว่ามันจะสะดวกสบาย แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเราต้องหาจุดสมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีกับความเป็นอยู่ที่ดีของเราให้เจอ

“ ในทุกๆปี วันอินเทอร์เน็ตปลอดภัย ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้เราได้ทบทวนพฤติกรรมการใช้ดิจิทัลของตัวเอง และนำแนวทางที่ช่วยส่งเสริมวิถีชีวิตดิจิทัลที่ดีมาปรับใช้ ”

จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้อย่างไร?

วันอินเทอร์เน็ตปลอดภัย มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นแกล้งออนไลน์ (cyberbullying) การใช้โซเชียลมีเดีย หรือการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID)

ประเด็นสำคัญของวันอินเทอร์เน็ตปลอดภัยในปีนี้คือ “การร่วมกันสร้างอินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้น”

บล็อกนี้จะพาคุณไปสำรวจเรื่อง การสอน “สุขภาวะดิจิทัล(digital wellness)” ว่าทำไมมันจึงสำคัญ และ วิธีที่โรงเรียนและผู้ปกครองจะสามารถร่วมมือกันเพื่อปลูกฝังทักษะที่จำเป็นเหล่านี้ให้กับนักเรียน

มาร่วมฉลอง “วันอินเทอร์เน็ตปลอดภัย” ด้วยกัน และร่วมสนับสนุนภารกิจของวันนี้ ในการสร้างโลกออนไลน์ที่ปลอดภัยและสุขภาพดีขึ้นสำหรับทุกคน

เข้าใจผลกระทบของอุปกรณ์ดิจิทัล

อันดับแรก เราต้องเข้าใจก่อนว่า การใช้เวลาอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานานเกินไป ส่งผลกระทบอย่างไรต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเรา

การใช้เวลากับหน้าจอเป็นเวลานานส่งผลต่อสุขภาพในหลายๆด้าน ทั้งอาการปวดตา นอนไม่หลับ และยังส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตด้วย มีงานวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างการใช้หน้าจอนานกับภาวะทางจิตใจ เช่น ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และปัญหาการนอนหลับ

การรับข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเตือน และสิ่งเร้าต่างๆ บนโลกดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับความเครียดของผู้คนทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น และอาจรู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้นอีกด้วย

การตระหนักรู้ถึงปัญหาเหล่านี้ คือ ก้าวแรกที่สำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดี

การกำหนดขอบเขต

1. เสริมพลังให้แก่คนรุ่นใหม่เพื่อเป็น : พลเมืองดิจิทัล(Digital Citizenship)

การให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนเกี่ยวกับการใช้เวลาหน้าจออย่างรับผิดชอบนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

พลเมืองดิจิทัล(Digital Citizenship) คืออะไร

การร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปลูกฝังทักษะ “สุขภาวะดิจิทัล” ที่จำเป็นแก่เด็ก ซึ่งทักษะเหล่านี้จะส่งผลดีต่ออนาคตของพวกเขา การสร้างนิสัยที่ดี จะช่วยหล่อหลอมเด็กให้กลายเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่มีความรับผิดชอบ

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีปลูกฝังให้เด็กนักเรียนในโรงเรียน เป็นพลเมืองดิจิทัลที่รับผิดชอบ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บล็อกของเรา: Empower your Students through Digital Citizenship.

2. สร้างโซนปลอดเทคโนโลยี

คุณสามารถเลือกกำหนดพื้นที่บางส่วนในบ้านให้เป็น “โซนปลอดเทคโนโลยี” เช่น โต๊ะอาหาร หรือห้องนอนเป็นต้น การทำเช่นนี้จะช่วยส่งเสริมการพูดคุยโต้ตอบกันแบบเจอตัวจริง(face-to-face)มากขึ้น และช่วยให้เราพักสายตาจากหน้าจอเมื่ออยู่ใน “โซน” เหล่านี้

3. กำหนดตารางเวลา

กำหนดตารางเวลาในการใช้หน้าจออย่างชัดเจน ทั้งสำหรับการทำงานและพักผ่อน การมีตารางเวลาที่เป็นแบบแผนจะช่วยให้คุณรู้สึกว่าสามารถควบคุมกิจกรรมดิจิทัลของคุณได้มากขึ้น

หากคุณต้องการที่จะทำให้เข้มข้นขึ้นไปอีกขั้น แนะนำให้กำหนดตารางเวลาสำหรับการพูดคุยแบบเจอตัวกัน(face-to-face) การทุ่มเทเวลาให้กับการพูดคุยแบบนี้ จะช่วยส่งเสริมการสร้างสายสัมพันธ์ที่แท้จริง และลดโอกาสในการพึ่งพาการพูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์ลง

4. พักอย่างมีสติ

นักเรียนควรพักสายตาสั้นๆ เป็นระยะๆ ระหว่างการใช้หน้าจอ โดยใช้เวลาเหล่านี้ในการยืดเส้นสาย ขยับร่างกาย หรือฝึกสมาธิ เพื่อลดความเมื่อยล้าตา และเพิ่มความสดชื่นให้กับสมอง

ส่งเสริมดิจิทัล Detox

​​แนวคิดของดิจิทัล Detox คือ การตั้งใจหยุดพักจากหน้าจอต่างๆ เพื่อชาร์จพลังและปรับสมดุลของชีวิตและสุขภาพ

ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง, หนึ่งวัน, หรือทั้งสัปดาห์ ช่วงเวลาพักจากดิจิทัลเหล่านี้ล้วนเปิดโอกาสให้เราได้ใช้ชีวิตกับโลกแห่งความเป็นจริง และได้ดูแลสุขภาพจิตของตนเองมากยิ่งขึ้น

1. กำหนดวัน ดิจิทัล Detox ของตนเอง

กำหนดวันบางวันในสัปดาห์หรือเดือนเพื่อดิจิทัล Detox การหยุดพักจากหน้าจอเป็นประจำ ช่วยให้จิตใจแจ่มใสและลดความเครียดลงได้อย่างมาก

อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการพูดคุยและสร้างสายสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีกด้วย

2. ถอดปลั๊กก่อนเข้านอน

แสงสีฟ้าจากหน้าจอรบกวนการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญสำหรับการนอนหลับ เพื่อเสริมสร้างการนอนหลับที่ดี แนะนำให้ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอนให้เป็นกิจวัตร

ปลูกฝังการใช้เวลากับหน้าจออย่างมีสติ

มีหลายวิธีที่ช่วยให้คุณปลูกฝังการใช้เวลากับหน้าจออย่างมีสติ

ประการแรก คุณสามารถเริ่มต้นด้วยการใช้อย่างมีจุดมุ่งหมาย

หมายถึงการใช้เวลากับหน้าจออย่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ การสอน การพักผ่อนหย่อนใจ หรือการเข้าสังคม และพยายามใช้เพื่อวัตถุประสงค์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่วอกแวก

“อีกหนึ่งตัวเลือกคือการใช้เครื่องมือด้านสุขภาวะดิจิทัล (Digital Wellbeing Tools) อุปกรณ์หลายชนิดในปัจจุบันมีเครื่องมือเหล่านี้มาให้ใช้งาน ช่วยให้คุณสามารถติดตามและจำกัดเวลาการใช้หน้าจอได้”

ตัวอย่างเช่น การตั้งเวลานอนบนโทรศัพท์ ในทุกๆวันเมื่อถึงเวลานั้น โทรศัพท์ของคุณจะเข้าสู่โหมดปิดเครื่องอัตโนมัติ ช่วยให้คุณปลดปล่อยตัวเองจากหน้าจอและส่งเสริมให้การนอนหลับดีขึ้น

การตั้งเวลาปิดเครื่องให้เร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมงก่อนนอน เป็นการสอดคล้องกับแนวคิดที่กล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับการหยุดใช้หน้าจอหนึ่งชั่วโมงก่อนนอนเป็นอย่างดี

ต่อมา ลองสำรวจฟีเจอร์ด้านสุขภาวะดิจิทัล(Digital Wellbeing)ต่างๆเพิ่มเติม และปรับใช้ให้เหมาะกับความต้องการและเป้าหมายของคุณ

และสุดท้าย อย่าลืมให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธ์ในโลกแห่งความจริง แม้ว่าการติดต่อกันผ่านโลกดิจิทัลจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ไม่ควรมองข้ามความสำคัญของการพูดคุยแบบเห็นหน้าเช่นกัน

การสร้างสมดุลระหว่างกิจกรรมทางสังคมแบบออนไลน์และออฟไลน์ จะช่วยรักษาสายสัมพันธ์ที่แท้จริงและยั่งยืน

ประเมินความคืบหน้า

การประเมินพฤติกรรมดิจิทัลของตนเอง, นักเรียน, หรือบุตรหลานเป็นประจำ จะช่วยให้คุณเห็นจุดที่ต้องปรับเปลี่ยน และวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นอย่างตั้งใจ

เตรียมคำถามชวนคิดให้ตัวเองและนักเรียนสักสองสามข้อ เพื่อสำรวจความรู้สึกและผลลัพธ์ หลังจากลดเวลาการใช้หน้าจอ

ตัวอย่างคำถาม:

  • ฉันทำตามเป้าหมายประจำวันสำหรับกิจกรรมที่ไม่ใช้หน้าจอได้หรือไม่?
  • ฉันรู้สึกอย่างไรหลังจากใช้หน้าจอเป็นเวลานาน?
  • พฤติกรรมดิจิตอลของฉันสอดคล้องกับเป้าหมายด้านสุขภาพโดยรวมหรือไม่?

มาร่วมกันสร้างอินเทอร์เน็ตที่ดีกว่า ด้วยการไตร่ตรองพฤติกรรมดิจิทัลของเราอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้เรามีความพร้อมในการตัดสินใจอย่างรอบรู้ และรักษาสมดุลที่ดีในการใช้เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากขึ้นเรื่อยๆ

ในวันอินเทอร์เน็ตปลอดภัยนี้ ลองมาให้ความสำคัญกับสุขภาพดิจิทัลของเรา โดยการสร้างสมดุลระหว่างเวลาดูหน้าจอกับสุขภาพร่างกายกันเถอะ!

ยึดมั่นในกิจวัตรที่มีสติ กำหนดขอบเขตการใช้งาน และหยุดดูหน้าจอเป็นระยะ เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีกับเทคโนโลยี

โปรดจำไว้ว่า การมีสุขภาพดิจิทัลที่ดี ไม่ได้หมายถึงหลีกเลี่ยงการใช้หน้าจอ แต่หมายถึง การใช้จออย่างมีสติ เพื่อเสริมคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น แทนที่จะปล่อยให้เทคโนโลยีมาดึงเวลาและความสุขของเราไป

และนี่คือการเดินทางดิจิทัลเพื่อสุขภาพที่ดีและสมดุลในปี 2024 นี้!

ด้วยความปรารถนาดี

Share

สร้างความเป็นเลิศแก่นักเรียนด้วยการจัดการอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ

Request a Demo